Buy Original Levitra Online Generic Levitra 10 Mg Generic Levitra (Vardenafil) 20mg Order Generic Levitra Online Buy Levitra Online Cheap Kamagra 100mg Online Kamagra Online Uk Kamagra Oral Jelly Online Pharmacy Kamagra Oral Jelly Buy Online Kamagra 100mg Oral Jelly Lovegra 100mg Tablets Lovegra Sildenafil 100mg Tablet Kamagra Super Online Kamagra Super 100mg Super Kamagra 100mg Sildenafil 60mg Dapoxetine Super Kamagra 100mg Generic Priligy 60 Mg Generic Priligy Side Effects
น้ำดื่มที่ควรหลีกไกล
You are here: ข่าวสาร น้ำดื่มที่ควรหลีกไกล

น้ำดื่มที่ควรหลีกไกล

E-mail Print PDF

แม้ว่า น้ำ จะมีความสำคัญแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ก็ใช่ว่าน้ำทุกชนิดจะเป็นประโยชน์แก่ตัวสุขภาพเพราะยังมีน้ำอีกหลากหลายประเภทที่จ้องทำรายมากกว่าให้คุณประโยชน์แก่ร่างกาย ดังนี้

1.น้ำอ่อน คือน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุ ซึ่งมีการศึกษาว่า อาจมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง โดยถ้าคุณลองเติมน้ำบริสุทธิ์และไม่มีเกลือแร่ลงในบ่อปลาก็จะเห็นศพปลาลอยตายเต็มบ่อ ไม่ต่างกับสภาพของคนที่ดื่มน้ำอ่อนเป็นประจำ เพราะน้ำอ่อนจะทำให้ร่างกายต้องปรับตัวและดึงแร่ธาตุต่างๆ ในตัวออกมาใช้อย่างไม่มีการหยุดพัก ซึ่งนั่นจะนำพาโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้ง่าย

2.น้ำกลั่น คือน้ำที่บริสุทธิ์และไม่มีเกลือแร่ ซึ่งถ้าดื่มเป็นประจำ ร่างกายของเราก็จะไม่ได้รับแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ส่งผลให้ร่างกายต้องดึงแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือแร่อื่นๆ ออกมาใช้ จนทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุดังกล่าว จนก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอันเป็นอันตรายถึงชีวิต

แต่ทั้งนี้ ถ้าคุณดื่มน้ำกลั่นบ้างเป็นครั้งคราวก็จะดีต่อสุขภาพ เนื่องจากน้ำกลั่นมีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายสูง ซึ่งสามารถดูดซึมทั้งสารพิษและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกาย หากนานๆ จึงจะดื่มที ก็ถือเป็นเรื่องดีที่จะละลายสารพิษในร่างกายเข้ามาในตัว และค่อยพาออกทางอุจจาระและปัสสาวะ

3.บรรจุขวด หรือน้ำขวดที่เราสามารถซื้อดื่มได้ทั่วไป มีสารปนเปื้อนและไม่ได้มาตรฐานแม้จะดูใส และปลอดภัยกว่าน้ำประปา โดยในประเทศสหรัฐฯ พบว่ามีสิ่งต่างๆ ปนเปื้อนอยู่มากกว่า 2,100 ชนิด และในจำนวนดังกล่าวยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพถึง 190 ชนิด และอีก 97 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง โดยคลอรีนที่ใส่ในน้ำขวดก็เป็นเพียงการป้องกันผู้บริโภคไม่ให้เชื้อแบคทีเรียทำอันตรายได้ แต่ทั้งนี้คลอรีนก็มีความเกี่ยวพันกับการเกิดมะเร็ง

ขณะเดียวกัน ร้อยละ 25 ของน้ำดื่มบรรจุขวด ก็เป็นเพียงการนำน้ำประปามาใส่ขวด และปรับปรุงคุณภาพอีกเพียงเล็กน้อย ดังนั้น การเลือกน้ำดื่มชนิดขวดในประเทศไทยจึงควรจะเลือกจากบริษัทผู้ผลิตที่เชื่อ ถือได้ มีชื่อเสียง และได้รับอนุญาตจาก อย. (คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ให้ผลิต

4.น้ำประปา มีคลอรีนที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียอยู่ก็จริง แต่ยังสามารถก่อให้เกิดสารพิษ "ไตฮา โลมีเทน" (Trihalomethanes-THM) ซึ่งเกิดจากคลอรีนทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในธรรมชาติที่ละลายอยู่ในน้ำได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โลหิตจาง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และสมองเสื่อม เป็นต้น

ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ได้มีการเติมฟลูออไรด์ (Fluoride) ลงในน้ำประปาเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยเจ้าฟลูออไรด์ที่ว่านี้ ทันตแพทย์เชื่อว่าจะช่วยป้องกันฟันผุได้ ซึ่งทำให้มีการมาตรฐานการเติมของฟลูออไรด์ลงไปในน้ำคือไม่เกิน 1 ส่วนในน้ำล้านส่วน (1 ppm) ขณะที่บางแห่งก็ยอมให้ 1.5 ppm แต่ถ้าสูงกว่า 4 ppm อาจมีปัญหาฟลูออไรด์เป็นพิษ (Fluorosis) แก่ผู้ที่บริโภค โดยถ้ากินฟลูออไรด์มากเกินไปก็จะทำให้ฟันเป็นฝ้าสีน้ำตาล และเป็นจุดๆ บนฟันแท้ ซึ่งปัญหาฟลูออไรด์เป็นพิษจะเกิดง่ายช่วงฟันกำลังจะงอกออกจากเหงือก ดังนั้น เด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี จึงไม่ควรดื่มน้ำที่ผสมฟลูออไรด์มากกว่า 1 ppm โดยเด็ดขาด

5.น้ำหวานและน้ำผลไม้สำเร็จรูป จัดเป็นน้ำตาลกับสีผสมน้ำ โดยอาจแต่งกลิ่นธรรมชาติหรือเติมวิตามินและแร่ธาตุให้ปะปนอยู่บ้าง แต่เครื่องดื่มชนิดนี้ก็อาจก่อให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดีกับร่างกายในระยะยาว เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และโรคเก๊าท์ เป็นต้น

6.น้ำอัดลม มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ น้ำ (น้ำนี้จะต้องเป็นน้ำสะอาด สามารถใช้น้ำประปามาทำ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน), น้ำตาล และสารปรุงแต่งที่เรียกว่า หัวน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่น สี และกรดคาร์บอนิก ซึ่งถูกอัดเข้าในภาชนะบรรจุ บางครั้งมีส่วนผสมของน้ำผลไม้เล็กน้อย โดยแต่ละยี่ห้อก็จะมีส่วนผสมลับเฉพาะของตนเอง

สำหรับน้ำอัดลมที่หลายคนชอบดื่มกัน เพราะช่วยเติมความสดชื่นระหว่างวัน มักมาจากน้ำกลั่นหรือน้ำอ่อนที่ไม่มีแร่ธาตุจึงทำให้ร่างกายต้องสูญเสียแร่ธาตุและดึงแร่ธาตุที่จำเป็นออกมาใช้ ซึ่งการสูญเสีแร่ธาตุจากร่างเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ต่อมา เช่น กระดูกพรุน ข้ออักเสบ ความ เสื่อมต่างๆ หรือแก่ก่อนวัย เป็นต้น


ที่มา : http://campus.sanook.com/1372421/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5/

Joomlart